วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพให้ดูนุ่มนวล
ในการให้ความรู้สึกที่อ่อนโยนและสัมผัสที่นุ่มนวลแก่ภาพถ่ายดอกไม้ สิ่งสำคัญก็คือฉากหลังและระดับความพร่ามัวหากต้องการเพิ่มระดับความพร่ามัว ให้ตั้งกล้องไว้ที่โหมด A และเปิดช่องรับแสงให้มากที่สุด
การทำให้ฉากหลังพร่ามัว
ในการจับภาพความนุ่มนวลและสีสันอันงดงามนั้น วิธีการปรับฉากหลังเป็นสิ่งสำคัญ ทำตามคำแนะนำใน ปัจจัยของภาพพร่ามัว เข้าใกล้วัตถุให้มาก และถ่ายด้านระยะไกล ของเลนส์ ขั้นตอนง่ายๆ นี้จะช่วยเพิ่มความพร่ามัวและเน้นให้ดูเด่น ทำให้สามารถถ่ายภาพออกมาได้แตกต่างไปจากเดิม

การปรับความสว่าง
การปรับให้ภาพสว่างขึ้นเล็กน้อยจะช่วยให้มีความนุ่มนวลยิ่งขึ้น ในตัวอย่างด้านล่าง ภาพทางซ้ายมือถ่ายโดยให้กล้องปรับการเปิดช่องรับแสงอัตโนมัติ เมื่อฉากหลังสว่างก็จะดูมืดลงไปด้วย ซึ่งเพียงพอสำหรับการถ่ายทอดสีสันและรูปร่าง แต่สีชมพูนั้นดูมัวเล็กน้อย เมื่อเพิ่มความสว่างอีกเล็กน้อยด้วยการชดเชยแสง ภาพทางขวามือก็ให้บรรยากาศที่นุ่มนวลและอ่อนโยนยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หากถ่ายภาพในบ้านหรือที่อื่นๆ ที่สามารถควบคุมมุมของแสงได้ ให้ลองจัดวางในตำแหน่งที่ได้รับการส่องสว่างจากแสงด้านหลัง หากเป็นไปได้ ให้ใช้แสงที่ส่องผ่านผ้าม่านแทนการรับแสงแดดโดยตรง หรือการถ่ายภาพในวันที่มีเมฆซึ่งเหมาะกับสร้างแสงที่นุ่มนวล
การลองใช้เลนส์มาโคร
หากถ่ายสิ่งของเล็กๆ อาจรู้สึกเหมือนได้ใกล้ชิดกับวัตถุมากขึ้นและถ่ายรายละเอียดในระยะใกล้ อย่างไรก็ตาม เลนส์มีระยะการโฟกัสขั้นต่ำซึ่งจำกัดระยะที่จะสามารถเข้าใกล้วัตถุได้ เลนส์มาโครเป็นเลนส์เฉพาะสำหรับฉากดังกล่าว ซึ่งให้ได้เข้าใกล้กับวัตถุมากๆ และถ่ายภาพระยะใกล้

SAL30M28
เลนส์รุ่นนี้จะช่วยให้เข้าใกล้วัตถุได้ในระยะ 2 ซม. เพื่อถ่ายภาพมาโครที่มีกำลังขยายสูงสุด 1:1 รายละเอียดที่โฟกัสจะคมชัดได้อย่างน่าอัศจรรย์ ขณะที่ฉากหลังที่ไม่ได้โฟกัสจะถูกละลายกลายเป็นภาพเบลอนวลตาซึ่งเน้นให้รายละเอียดดูโดดเด่น

SEL30M35
เลนส์นี้ให้ความสามารถระดับมาโครประสิทธิภาพสูงแบบอเนกประสงค์ในรูปลักษณ์ที่กะทัดรัดและน้ำหนักเบา นับเป็นเลนส์มาโครระดับ 1:1 อย่างแท้จริงที่มีระยะการทำงานขั้นต่ำ 2.4 ซม. ซึ่งช่วยปรับให้วัตถุและรายละเอียดขนาดเล็กๆ มีความละเอียดและความเปรียบต่างที่ดีเยี่ยม








เทคนิคการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพโดยจับของเล็กมาเล่นบทหลัก
หากคุณพบกับทิวทัศน์ที่กว้างไกลในขณะที่เดินทาง คุณต้องการที่จะเก็บภาพทิวทัศน์เหล่านั้นอย่างที่เป็นอยู่ ซึ่งรวมถึงบรรยากาศอันงดงามและความมีชีวิตชีวาที่คุณสัมผัสได้ในช่วงเวลานั้นในการถ่ายภาพดังกล่าว ให้ตั้งค่ากล้องเป็นโหมด A 
การถ่ายภาพโดยใช้ช่องรับแสงที่เล็กลง
ให้ใช้ช่องรับแสงที่เล็กลงเพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ การตั้งค่าช่องรับแสงให้ตั้งที่ประมาณ F8 จะทำให้โฟกัสทั้งภาพได้อย่างคมชัด อย่างไรก็ตามค่าที่แนะนำอาจแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสภาวะในการถ่ายภาพหรือเลนส์ โดยทั่วไปแล้ว หากคุณต้องการถ่ายภาพให้คมชัดโดยที่มีความเปรียบต่างสูง ให้คุณเพิ่มเลข F ในทางกลับกัน หากคุณต้องการเพิ่มสัมผัสที่นุ่มนวลให้กับทั้งภาพ ให้คุณลดเลข F 


การจัดภาพช่วงกว้างในด้านมุมกว้าง
ถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยเลนส์ซูม สามารถจับภาพช่วงกว้างๆ ของฉากได้โดยการใช้ด้านมุมกว้าง (ใช้ความยาวโฟกัสที่สั้นลง) ของเลนส์ นอกจากนี้ หากถ่ายภาพทิวทัศน์พร้อมกับท้องฟ้า การเติมเต็มพื้นที่ใหญ่ๆ ด้วยท้องฟ้าก็จะเพิ่มความน่าประทับใจยิ่งขึ้น และถ่ายทอดพลังของฉากนั้นๆ ออกมา


วิธีการเพิ่มความความชัดและความสด
หากคุณต้องการปรับให้ทิวทัศน์หรือก้อนเมฆดูคมชัดและมีสีสดยิ่งขึ้น ให้เปลี่ยนการตั้งค่า สร้างสรรค์ภาพถ่าย การตั้งค่าเป็นทิวทัศน์จะช่วยปรับความเปรียบต่างและความอิ่มตัว และช่วยตกแต่งความลึกของภาพได้อีกด้วย หากคุณต้องการความเปรียบต่างของสีหรือเงาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มความน่าประทับใจให้กับภาพ ให้ปรับ "ความอิ่มตัว" และ "ความเปรียบต่าง" จากการตั้งค่าตัวเลือก โดยแต่ละพารามิเตอร์จะปรับละเอียดได้ ± 3 ขั้น


ใช้เลนส์มุมกว้าง
ในการถ่ายภาพที่เปี่ยมชีวิตชีวาด้วยมุมมองที่กว้างขึ้น ขอแนะนำให้ใช้เลนส์มุมกว้าง
เลนส์มุมกว้างจะสามารถจับภาพฉากต่างๆ ในช่วงที่กว้างกว่าสายตาของมนุษย์ จึงช่วยให้คุณเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพที่ไม่ซ้ำใครในการถ่ายสแน็ปช็อต หรือการถ่ายภาพท้องถนน ตลอดจนภาพถ่ายทิวทัศน์

เลนส์รุ่นนี้จะให้ความยาวโฟกัสที่จำเป็นสำหรับที่ร่มมากๆ และภาพถ่ายสถาปัตยกรรม ตลอดจนสถานการณ์อื่นๆ ที่ต้องการถ่ายครอบคลุมพื้นที่ในมุมกว้างตัวเลนส์จะมีกระจก ED และชิ้นเลนส์ Aspherical ที่ลดแสงจ้าและความผิดเพี้ยนของสี เพื่อให้ภาพมีความคมชัดและความเปรียบต่างสูงแม้อยู่ภายใต้สภาพแสงที่ไม่เอื้ออำนวย
เลนส์ซูมมุมกว้างแบบพิเศษ 10-18 มม. รุ่นนี้เหมาะที่สุดสำหรับภาพทิวทัศน์กว้าง รวมถึงทัศนียภาพที่เน้นรายละเอียดพร้อมวัตถุ ชิ้นเลนส์ Aspherical และกระจก ED ที่มีการออกแบบให้มีความแม่นยำในการรับแสงช่วยให้มีความละเอียดและความเปรียบต่างอันน่าทึ่งทั่วทั้งภาพ ด้วยช่องรับแสงสูงสุดคงที่ F4 ตลอดช่วงความยาวโฟกัส คุณจึงสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากช่องรับแสงที่สว่างเพื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงแม้ในสภาวะที่มีแสงน้อย






เทคนิคการถ่ายภาพ

การถ่ายภาพโดยจับของเล็กมาเล่นบทหลัก
ในการดึงเอาลักษณะเฉพาะ ความเยือกเย็น หรือความน่ารักของสิ่งของเล็กๆ สิ่งสำคัญคือการโฟกัสอย่างแม่นยำที่สิ่งนั้นๆ และให้แสดงบทบาทหลักในภาพ บทนี้มีเทคนิคการถ่ายภาพบางประการสำหรับการถ่ายภาพของประดับหรือการถ่ายภาพบนโต๊ะ อันดับแรก ให้ตั้งค่ากล้องเป็นโหมด P เพื่อเริ่มการถ่ายภาพ
กฎพื้นฐาน : เข้าใกล้และถ่ายในด้านระยะไกล  

การจับภาพระยะใกล้ของวัตถุและทำให้บริเวณอื่นๆ พร่ามัวนั้น การ "เข้าใกล้วัตถุให้มากที่สุด" และ "ถ่ายภาพด้านระยะไกลของเลนส์ซูม"  การเติมเต็มทั้งเฟรมด้วยวัตถุอาจไม่สามารถถ่ายทอดลักษณะเฉพาะของสิ่งของเล็กๆ ได้ดีนัก ในกรณีดังกล่าว ให้ถ่ายภาพสองสามภาพซ้ำๆ ขณะเดียวกันให้ขยับกล้องออกทีละน้อย ซึ่งการโฟกัสที่สิ่งของเล็กๆ และการถ่ายภาพจากระดับเดียวกับตำแหน่งของสิ่งนั้นๆ จะเน้นวัตถุให้เด่นโดยที่ฉากหลังพร่ามัว เลนส์มาโครมีประโยชน์เมื่อถ่ายภาพสิ่งของขนาดเล็กอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับเลนส์ชนิดอื่นๆ เลนส์มาโครจะช่วยให้เข้าใกล้วัตถุได้อย่างมาก ดังนั้น จึงสามารถถ่ายเครื่องประดับขนาดเล็ก เช่น แหวน สร้อยคอ และต่างหูในระยะใกล้ได้

ข้อดีอีกประการหนึ่งของเลนส์มาโครก็คือสามารถเข้าใกล้วัตถุได้เกือบไม่จำกัด เมื่อใช้เลนส์มาโคร คุณสามารถเลือกมุม องค์ประกอบ และขนาดของวัตถุได้อย่างยืดหยุ่นแม้ในพื้นที่จำกัด เช่น บนโต๊ะหรือในห้องเล็กๆ

การพิจารณาองค์ประกอบ
วัตถุหลักก็มักจะถูกจัดวางไว้กลางเฟรม การจัดวางองค์ประกอบแบบนี้สามารถแสดงถึงพลังและจุดสำคัญของวัตถุได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม เมื่อถ่ายภาพสิ่งของเล็กๆ สิ่งที่ยากก็คือการใช้พื้นที่สำหรับการแสดงอารมณ์และจังหวะของภาพ สำหรับการถ่ายภาพสิ่งของเล็กๆ ขอแนะนำให้ใช้การจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds” หรือ องค์ประกอบทแยงมุม

ตัวอย่างของการจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" ในการจัดองค์ประกอบเฟรมจะถูกแบ่งออกเป็น 9 ส่วน (แนวนอน 3 x แนวตั้ง 3) และวัตถุหลักจะถูกจัดวางไว้ที่จุดตัดของเส้นแบ่ง ในตัวอย่างข้างบน สิ่งของหลักขนาดเล็กวางอยู่ที่จุดตัดด้านขวาบน การวางวัตถุหลักไว้ที่ตำแหน่งนี้ ภาพจะดูนิ่งมากขึ้น โดยความสมดุลที่สมบูรณ์แบบเกิดขึ้นจากลายผ้าในบริเวณที่ว่าง อย่างไรก็ตามในทางตรงข้าม หากคุณใช้การจัดองค์ประกอบแบบ "Rule of Thirds" กับทุกภาพอาจทำให้เกิดความจำเจได้ ดังนั้น ขอแนะนำให้ใช้การจัดองค์ประกอบแบบนี้สำหรับอ้างอิงเมื่อคุณไม่สามารถจัดองค์ประกอบได้เท่านั้น


การจัดองค์ประกอบอีกแบบหนึ่งคือองค์ประกอบทแยงมุม เช่นภาพข้างบน หากวัตถุแบบหรือลายเดียวกัน เรียงติดกัน หรือหากมีลายริ้ว ให้จัดเรียงในแนวทแยงของเฟรมเพื่อให้เกิดองค์ประกอบชนิดนี้ องค์ประกอบทแยงมุมสามารถเพิ่มความรู้สึกของจังหวะและชวนให้ผู้ชมจินตนาการถึงความกว้างของฉากที่อยู่นอกเฟรมได้

การลองใช้เลนส์มาโคร
ถ่ายภาพสิ่งของขนาดเล็กหรือดอกไม้อยู่บ่อยครั้ง การใช้เลนส์มาโครจะช่วยเพิ่มการแสดงอารมณ์ของภาพได้เป็นอย่างดี หากคุณลองใช้เลนส์มาโครเป็นครั้งแรก ขอแนะนำให้ใช้ "SAL30M28" สำหรับ A-mount และ "SEL30M35" สำหรับ E-mount เลนส์ที่กล่าวมานี้จะมีมุมมองที่สะดวกและแสดงประสิทธิภาพได้อย่างดีเยี่ยม

SAL30M28
เลนส์รุ่นนี้จะช่วยให้คุณเข้าใกล้วัตถุได้ในระยะ 2 ซม. เพื่อถ่ายภาพมาโครที่มีกำลังขยายสูงสุด 1:1 รายละเอียดที่คุณโฟกัสจะคมชัดได้อย่างน่าอัศจรรย์ ขณะที่ฉากหลังที่ไม่ได้โฟกัสจะถูกละลายกลายเป็นภาพเบลอนวลตาซึ่งขับเน้นให้รายละเอียดดูโดดเด่น

SEL30M35
เลนส์นี้ให้ความสามารถระดับมาโครประสิทธิภาพสูงแบบอเนกประสงค์ในรูปลักษณ์ที่กะทัดรัดและน้ำหนักเบา นับเป็นเลนส์มาโครระดับ 1:1 อย่างแท้จริงที่มีระยะการทำงานขั้นต่ำ 2.4 ซม. ซึ่งช่วยปรับให้วัตถุและรายละเอียดขนาดเล็กมีความละเอียดและความเปรียบต่างที่ดีเยี่ยม


  


เทคนิคการถ่ายภาพ

เทคนิคการถ่ายภาพ
หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์และปรับโหมดเป็น HDR


ถ่ายช่วงเวลาก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน


ถ่ายช่วงทไวไลท์ คือช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตก หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้นซักพักนึง ถ้าเป็นในประเทศไทย ก็อยู่ที่ราว 15-20 นาทีหลังจากพระอาทิตย์ตก


หาเนื้อหาเด่นของภาพ



เก็บเรื่องราว


มือต้องนิ่ง


ฝึกจัดองค์ประกอบแบบง่าย ๆ



พื้นอย่าเอียง


ใช้ APP การใช้ APP ก็เข้ามาช่วยได้อย่างง่ายดาย โดยการปรับหลาย ๆ อย่างที่เราว่ามาข้างต้น เช่น การจัดองค์ประกอบ  การแก้พื้นเอียง หรือปรับแสงสีเล็กน้อย


เรียนรู้มือถือตัวเองให้หมดทุกด้าน




การแต่งกายล่อแหลม

แนวทางแก้ปัญหาการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่น

 กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงวัฒนธรรม  สถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ควรร่วมมือร่วมใจกันรณรงค์การแต่งกายให้เหมาะสม

 ทางด้านสถาบันการศึกษาควรที่จะกำหนดกฎระเบียบ และกวดขันในเรื่องการแต่งกายอย่างเคร่งครัดและเอาจริงเอาจัง ควรมีการกำหนดบทลงโทษเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาเกรงกลัวและปฎิบัติตาม

 ทางด้านสื่อต่างๆ ควรจะนำเสนอตัวแบบหรือพรีเซนต์เตอร์การแต่งกายที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการแต่งกาย



การแต่งกายล่อแหลม

ลักษณะการการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่น
สวมใส่เสื้อผ้าสั้นเกินจำเป็น 
สวมใส่เสื้อผ้าบาง
สวมใส่เสื้อผ้าไม่ใส่ชุดชั้นใน 
 สวมใส่เสื้อผ้าที่มีรู
สวมใส่เสื้อเกาะอก
สวมใส่เสื้อผ้ารัดรูป

การแต่งกายล่อแหลม

ผลกระทบที่เกิดจากแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่น

แฟชั่น ชุดนักศึกษายุคใหม่ที่เน้นตามกระแสแฟชั่นได้รับความนิยมสูง ขายดีทั้งชุดของผู้ชายและผู้หญิงเพราะราคาถูก ดูทันสมัย แต่ความจริงแล้วการแต่งกายเสื้อผ้าเล็กเกินไป นอกจากจะดูไม่งามแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกด้วย

ปัญหาอาชญากรรม การถูกล่วงละเมินทางเพศ การข่มขืน การถูกล่อล่วงไปกระทำอนาจารส่งผลต่อวัฒนธรรมการแต่งกายที่ดีงามของนักศึกษา ที่เป็นปัญญาชนกลับถูกมองในด้านลบเสื่อมเสียไปถึงสถาบันที่ศึกษา

เป็นการตามกระแสนิยมที่ผิดๆ เป็นกระแสนิยมที่ทำให้เกิดการเลียนแบบการแต่งกายของเด็กตามผู้ใหญ่ ทำให้สิ้นเปลื้องเงินของผู้ปกครองโดยใช่เหตุและยังเป็นการปลูกฝังค่านิยมแก่คนรุ่นน้องที่ผิดๆ